03 สิงหาคม 2551
การจัดการเชิงกลยุทธ์...ฤาจะถึงเวลาแห่งการปรับองค์ความรู้ใหม่เสียแล้ว?
ศาสตร์แห่งการจัดการเชิงกลยุทธ์ (Strategic Management) ในทุกวันนี้ ได้มีการพัฒนาก้าวหน้าไปเป็นอย่างมากเมื่อเปรียบเทียบกับอดีตที่ผ่านมา แต่โครงการ MBA หลายแห่งในหลายๆ มหาวิทยาลัยชั้นนำของเมืองไทยยังวิ่งตามกันไม่ทัน บางแห่งยังคงมุ่งเน้นสอนเพียงแต่เรื่อง SWOT Analysis(EFAS/IFAS), 5-Force Model, Value Chain Model, TOWS Metrix, Corporate-Level/ Business-Level/ Functional-Level Strategies, BCG Metrix, และ Product-Market Development Grid แล้วก็ตามปิดท้ายด้วย Case Study ที่ไม่อัพเดตหรือตกรุ่นล้าสมัยไปนานแล้ว นอกจากนี้ บางแห่งก็ยังคงมุ่งมั่นแต่ให้นักศึกษาเล่นเกมส์ประเภท Business Game ที่ล้าหลังทั้งการประยุกต์ใช้ในกระบวนการจัดการสมัยใหม่อย่างไรก็ตาม โครงการ MBA ของมหาวิทยาลัยบางแห่ง ก็มีการปรับเนื้อหาวิชาการจัดการเชิงกลยุทธ์ของตนเองตลอดเวลาเพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลกธุรกิจและกระแสโลกาภิวัฒน์ มีการนำเอาเรื่อง Blue Ocean Strategy, Long Tail Strategy, Balanced Scorecard (BSC), Strategy Map, Economic Value Management (EVM), Change Management และ Competency Management มาเรียนมาสอนเพิ่มเติมกันอย่างเข้มข้นทั้งทฤษฎีและปฎิบัติ อันนี้ก็นับว่าเป็นโชคดีของนักศึกษาสถาบันนั้นๆ ไป ที่พอจบออกไปก็สามารถนำไปประยุกต์กับการทำงานได้เลย เนื่องจากองค์ความรู้เหล่านี้ เป็นเรื่องธรรมดามากๆ กับองค์กรภาคเอกชนชั้นนำหรือบรรดารัฐวิสาหกิจทั้งหลายในเมืองไทย ถ้าจะถามถึงบริษัทระดับ World Class ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น Delta Electronics, Sony, Toyota, หรือ GE ก็ตาม เรื่องพวกนี้เขาใช้กันอย่างแพร่หลายมานานแล้วเช่นกันและภายใต้บริบทแห่งการแข่งขันประกอบกับการแปรเปลี่ยนของปัจจัยทางสภาพแวดล้อมธุรกิจที่มีความซับซ้อนมากขึ้น ศาสตร์แห่งการจัดการเชิงกลยุทธ์ได้พัฒนาองค์ความรู้ของตนเองในด้านการจัดการสมัยใหม่และในฐานะที่เป็น "Capstone" หรือ "เสาหลัก" ของวิชาด้านการบริหารธุรกิจ ขึ้นมาอีกหลายด้าน อาทิเช่น Surprise Management, Strategic Issue Management (SIM Model), Weak Signal Management, Environment-Strategy-Capability Gap Analysis (ESC Model), Competitive Posture Analysis in Turbulent Environment, Strategic Dimensions of Technology, Matching Capability (Structure, System, and People) to Environmental Turbulence, Systemic Resistance, Dispersed Positioning, หรือ Strategic Portfolio เป็นต้น การอัพเดตเนื้อหาวิชานี้ หรือแม้แต่ตัวอาจารย์ผู้บรรยายเองนั้น ถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากองค์ความรู้ในวิชานี้จะเป็นองค์ความรู้ที่สำคัญของผู้ประกอบการหรือผู้บริหารยุคใหม่ทุกคนที่ต้องการ "อาวุธทางความคิดที่มีความเฉียบคมและทันสมัย" ไว้ต่อสู้กับสภาพแวดล้อมทางการแข่งขันที่มีความซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งคงจะไม่เหมาะที่จะพกพาแต่ "ขวานหินเก่าๆ" ไปต่อกรกับใครเขาแต่สำหรับท่านผู้อ่านที่สนใจเรื่องราวใหม่ๆ ด้านการจัดการเชิงกลยุทธ์ข้างต้นนี้ ผมจะค่อยๆ นำมาเล่าสู่กันฟังตามลำดับในวันต่อๆไป ครับ... / ดร. ครรชิต สิงห์สุวรรณ์
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
9 ความคิดเห็น:
เคยมีบางคนบอกผมว่า พวกเครื่องมือเหล่านี้ก็ต่างกันเพียงชื่อ แต่ผมก็ไม่รู้หรอกว่าจริงหรือเปล่า เพราะไม่คุ้นเคยเท่าไหร่... จะรออ่านเพื่อความกระจ่างครับ
เห็นด้วยกับอาจารย์เป็นอย่างยิ่งค่ะ เพราะปัจจุบันหากผู้บริหารไม่รู้จักเรียนรู้การจัดการการเปลี่ยนแปลง การบริหารจัดการรูปแบบใหม่ๆ ธุรกิจที่ต้องเผชิญการแข่งขันรุนแรงก็จะเสียเปรียบคู่แข่งขัน ... spicy, secretary from Faculty of Business ka
สวัสดีครับอาจารย์ .. อาจารย์คิดว่าเนื้อหาการสอนและเนื้อหาทฤษฎีเก่าๆ อย่าง SWOT, 5Fs, Value Chain, etc. จำเป็นที่ต้องสอนกันอยู่หรือป่าวครับ แล้วถ้าเป็นอาจารย์อยากจะให้มีการปรับเปลี่ยนมีวิธีการสอนในวิชา Strategy Management อย่างไรครับ เพื่อให้ น.ศ. ได้ทันยุคทันสมัยครับ / รักและเคารพ นศ.Young#4 MBAKKU
สวัสดีค่ะอาจารย์ ได้เข้ามาอ่านบทความของอาจารย์แล้ว ได้รับความรู้เพิ่มมากขึ้นมากๆเลยค่ะ ปัจจุบันเทคโนโลยีเจริญก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว การบริหารองค์กรต้องเป็นการบริหารแบบเชิงบูรณาการ ใช้ความรู้หลายๆด้าน มาประกอบ เช่น ด้านการจัดการ ด้านการตลาด ด้านการเงิน และด้านอื่นๆ จะได้ก้าวทันคู่แข่ง และพัฒนาองค์กรของเราให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นค่ะ
โดนใจอย่างแรงครับอาจารย์
ทั้งหลักสูตรและผู้สอนควรต้องเหลาและลับความรู้อยู่ตลอด แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการสมัยใหม่ยังมีอะไรอีกมากที่ต้องเรียนรู้กัน
ถ้ามีโอกาส เวลาอำนวย อยากให้อาจารย์ชี้แจงเพิ่มเติมเพื่อเป็นวิทยาทานด้วยครับ
จาก...HRM6 ม.บูรพา
สุดยอดมากเลยครับ ดร.ครรชิต ผมเคยคุยกับท่านแต่ไม่ค่อยสนิทเท่าไหร่ ผมจารึก น้องพี่เอกสี่ย่าน ผมได้อ่านบทความแล้วมองตัวเองโง่ไปเลย ที่จริงผมชอบศึกษาเชิงการตลาดปัจจุบัน
เนื้อหาน่าสนใจ มาอ่านดูผ่านๆครับ เดี๋ยวลงค่อยแบบตั้งใจทีหลัง
อยากให้อาจารย์บทความเกี่ยวกับการ กลยุทธ์การปรับโครงสร้างองค์กร อย่างไรให้เหมาะสม
แสดงความคิดเห็น